วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกNewsสทบ. จับมือ มศว. เดินหน้าโครงการพัฒนาองค์ความรู้คณะกรรมการและสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองหลักสูตร“ การบริหารจัดการและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าสมุนไพรตามแนวประชารัฐ” ครั้งที่ 4 ระดมผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด-การสร้างแบรนด์สินค้าเติมเต็มเทคนิคการลุยตลาดออนไลน์สมุนไพร พร้อมจับคู่ธุรกิจเลือกช็อปไอเดียจากสมาชิกสทบ. จัดเวิร์คช็อปปักหมุดตลาดลานบุญ วัดโพธิ์ ต่อยอดผลงานความสำเร็จของผู้เข้าร่วมโครงการที่ผ่านการฝึกอบรมแบบเข้มข้นมาแล้วทั้งหมด...

สทบ. จับมือ มศว. เดินหน้าโครงการพัฒนาองค์ความรู้คณะกรรมการและสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองหลักสูตร“ การบริหารจัดการและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าสมุนไพรตามแนวประชารัฐ” ครั้งที่ 4 ระดมผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด-การสร้างแบรนด์สินค้าเติมเต็มเทคนิคการลุยตลาดออนไลน์สมุนไพร พร้อมจับคู่ธุรกิจเลือกช็อปไอเดียจากสมาชิกสทบ. จัดเวิร์คช็อปปักหมุดตลาดลานบุญ วัดโพธิ์ ต่อยอดผลงานความสำเร็จของผู้เข้าร่วมโครงการที่ผ่านการฝึกอบรมแบบเข้มข้นมาแล้วทั้งหมด 3 รุ่น

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. เวลา 13.00 น. ที่โรงแรมเอส ดี อเวนิว กทม. สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) จัดโครงการพัฒนาองค์ความรู้คณะกรรมการและสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองหลักสูตร “การบริหารจัดการและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าสมุนไพรตามแนวประชารัฐ” ครั้งที่ 4 โดยดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดโครงการการฝึกอบรมหลักสูตร “การบริหารจัดการและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าสมุนไพรตามแนวประชารัฐครั้งที่ 4 พร้อมมอบนโยบายตอนหนึ่งว่า โครงการดังกล่าวเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากโดยใช้กลไกของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเข้ามาพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งเพื่อให้กองทุนมีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากอย่างมีประสิทธิภาพสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) จึงได้ขับเคลื่อนโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐโดยมีนโยบายที่จะพัฒนากองทุนโดยการอบรมให้ความรู้กองทุนทั้งการบริหารจัดการและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าสมุนไพรของกองทุนเพื่อให้กองทุนและสมาชิกมีรายได้และอาชีพที่มั่นคงซึ่งมีผลต่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากในอนาคต

ด้าน รศ. นที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) กล่าวว่าจากการที่รัฐบาลได้มีนโยบายขับเคลื่อนยกระดับสมุนไพรของประเทศไทยให้เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าสมุนไพรระดับชั้นนำของประเทศนั้นขณะนี้สทบ. ได้ดำเนินงานตามโนยบายดังกล่าวให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจนเกิดเป็นโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าสมุนไพรตามแนวประชารัฐโดยโครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการฝึกอบรมมาแล้ว 3 รุ่น มีผลตอบรับที่ดีเป็นอย่างมากพร้อมกับมีการต่อยอดสมุนไพรให้เป็นผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด ตั้งแต่ออกร้านจำหน่ายที่ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม เมื่อเดือน ต.ค. 60 และตลาดลานบุญในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งชาติที่วัดโพธิ์ ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้ต่อยอดความสำเร็จครั้งนี้โดยสทบ. จึงได้ร่วมกับ มศว.จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าวต่อเนื่องอีกครั้งในรุ่นที่ 4 อย่างเป็นทางการเพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างอาชีพต่อยอดประยุกต์จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ตราสินค้านวัตกรรมภูมิปัญญาสร้างรายได้ส่งเสริมการจําหน่ายผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดในอนาคต รวมถึงเผยแพร่สิ่งเหล่านี้ไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการลงทุนอีกด้วย สำหรับจุดเด่นสำคัญของการจัดโครงการอบรมครั้งนี้เป็นหลักสูตรนี้ได้พัฒนาการผลิตสมุนไพรเชิงต่อยอดในทางการแพทยศาสตร์ชะลอวัย และพัฒนาทักษะการใช้งานเครื่องมือออนไลน์ในการทำการตลาดส่งออกสู่ตลาดโลกได้ด้วยตนเอง มีทั้งการเสวนาการจัดเวิร์คช็อปพร้อมการไปศึกษาดูงานตลาดลานบุญวัดโพธิ์ โดยตลาดงานบุญวัดโพธิ์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่เราได้ต่อยอดความสำเร็จจากการจัดอบรมทั้ง 3 รุ่นก่อนหน้านี้เป็นตลาดลานบุญสมุนไพรของตลาดประชารัฐครั้งที่ 2 ที่มีการโชว์ผลงานของผู้เข้าอบรมรุ่นต่างๆที่ผ่านมาให้ผู้สนใจและประชาชนทั่วไปได้เห็นถึงการนำสมุนไพรที่ไม่ได้เป็นที่นิยมมากนักสู่ผลิตภัณฑ์แถวหน้าของประเทศ “การเดินหน้าโครงการฝึกอบรมครั้งที่ 4 จะเป็นการอบรมแบบเข้มข้นที่ต่อยอดความสำเร็จจากทั้ง 3 รุ่น ก่อนหน้านี้เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าถึงฐานข้อมูลกลยุทธ์นักธุรกิจรุ่นใหม่ในการเพิ่มช่องทางการสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยลุยตลาดสู่โลกออนไลน์ซึ่งนอกจากการฝึกอบรมตามหลักสูตรนี้แล้วยังได้มีการจัดเสวนาที่ดึงผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ประกอบการด้านการตลาดการสร้างแบรนด์สินค้าและการเพิ่มโอกาสเส้นทางการจัดจำหน่ายสินค้ามาให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรมขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ร่วมวงเสวนาจะได้เลือกช็อปไอเดียจากสมาชิกกองทุนหมู่บ้านที่เข้ารับการอบรมด้วยเนื่องจากสมาชิกเหล่านี้เป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีความรู้ด้านการผลิตแต่ยังขาดความรู้ด้านการตลาด ดังนั้นในการเสวนาจึงถือเป็นการจับคู่ธุรกิจสินค้าให้แก่ผู้เข้าอบรมเพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางการค้าระหว่างชุมชนภาคเอกชนและภาครัฐ และยังเป็นการบริหารการใช้จ่ายงบประมาณรัฐอย่างคุ้มค่า เพราะนอกจากจะเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชนแล้ว ยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ประเทศอีกด้วย” อย่างไรก็ตามเชื่อมั่นว่าผลสำเร็จจากการดำเนินโครงการจัดอบรมครั้งนี้จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการและสมาชิกกองทุนได้แรงบันดาลใจได้ลงมือปฏิบัติจริงเกิดเครือข่ายในการทํางานร่วมกันอย่างเข้มแข็งในอนาคตอย่างแน่นอน

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments