วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรก News ร่วมแสดงความยินดีกับบทสรุปของโครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคม กระบวนการสร้างนวัตกรผู้มุ่งหวังเปลี่ยนแปลงสังคม

ร่วมแสดงความยินดีกับบทสรุปของโครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคม กระบวนการสร้างนวัตกรผู้มุ่งหวังเปลี่ยนแปลงสังคม

0
ร่วมแสดงความยินดีกับบทสรุปของโครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคม กระบวนการสร้างนวัตกรผู้มุ่งหวังเปลี่ยนแปลงสังคม

เส้นทางการบ่มเพาะนวัตกรเยาวชนผู้ใส่ใจสังคมในโครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคม หรือ Thammasat-Banpu Innovative Learning Program ภ ายใต้ความรร่วมมือระหว่างคณะวิทยาการเรียน รู้และศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ บริษัท บ้านปูจำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจรแห่งเอเชีย-แปซิฟิกที่มุ่งมั่นพัฒนา “คน” ซึ่งจะขับเคลื่อนชุนชนและสังคมอย่างยั่งยืนในระยะยาว ได้ดำเนินมาถึงบทสรุปแล้วโดยทางโครงการฯได้จัดพิธีมอบถ้วยรางวัลพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีแก่ทีมผู้ชนะเลิศ รวมทั้ง
รางวัลพิเศษอื่น ๆ พร้อมใบประกาศเกียรติคุณและทุนการศึกษารวมมูลค่ากว่า 300,000 บาท แก ่ทีมดีเด่นประเภทต่างๆโดยมีศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีและ รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.อนุชาติ พวงสําลี คณบดี
คณะวิทยาการเรียนรู้ และ ศึกษาศาสตร์ นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ และนางอุดมลักษณ์ โอฬาร ผู้อำนวยการสายอาวุโสองค์กรสัมพันธ์ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ร่วมแสดงความยินดีภายในงาน ในวันที่ 30 มีนาคม 2562 เวลา 16.00-18.30น. ณ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์

โดยก่อนที่จะเข้าสู่พิธีมอบถ้วยรางวัลพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีแก ่ทีมที่ชนะเลิศในโครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคมทางโครงการฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมทดลองเล่นบอร์ดเกมของเยาวชนทั้ง 20 ทีมพร้อมทั้งชมนิทรรศการเส้นทางการเรียนรู้ของเยาวชนในโครงการฯโครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคมเกิดขึ้นเมื่อปี 2560 ด้วยวัตถุประสงค์สำคัญที่จะพัฒนานวัตกรเยาวชนวัยมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับปวช. จากทั่วประเทศที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาสังคมด้วยเครื่องมืออันสร้างสรรค์อย่างบอร์ดเกม ซึ่งหลังจากการเปิดตัวผลงานทั้ง 20 ทีมต่อสาธารณชนไปแล้วในงานมหกรรมเกมและการเรียนรู้เมื่อเดือนตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา ล่าสุด เยาวชนทั้ง 20 ทีมได้มีการนำผลงานเหล่านี้ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เป้าหมายทั้งชุมชนและโรงเรียน เพื่อประเมินผลจากการใช้งานจริง สำหรับเกณฑ์การตัดสินนั้น กรรมการผู้ตัดสินจากหลากหลายสาขาจะพิจารณาจากเกมที่สามารถสื่อสารปัญหาสังคมและใช้วิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด รวมถึงเกมจะต้องมีกลไกที่สามารถให้ความรู้และสร้างความตระหนักให้แก่ผู้เล่นในประเด็นทางสังคมตามเป้าหมายของเกมโดยยังคงตอบโจทย์ด้านความสนุกสนาน ที่สำคัญจะต้องมีกระบวนการนำเกมไปใช้และเผยแพร่ต่อชุมชนต่อไปได้ด้วย

รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่าคุณลักษณะของคนที่เป็นนวัตกร คือ คนที่เปิดกว้าง เห็นความเป็นไปได้ในทุกโอกาส คิดวิเคราะห์เป็น พยายามศึกษาปัญหาอย่างเข้าอกเข้าใจ และลงมือทำให้สำเร็จด้วยความรักและมุ่งมั่น ซึ่งการที่จะสร้างเยาวชนให้มีคุณลักษณะเหล่านี้ได้เขาต้องได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาผ่านเครื่องมือหลักคือ หลักการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และยังมีเครื่องมือย่อยอื่น ๆ เพื่อให้เยาวชนนำไปใช้ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาบอร์ดเกม

“การพัฒนาชิ้นงานต้นแบบ (Prototype) เป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญมากของหลักการคิดเชิงออกแบบที่ต้องอาศัยความเร็วในการหาจุดบกพร่องให้เจอเพื่อแก้ไข หากล้มเหลวก็พยายามใหม่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ในช่วงการอบรมเชิงปฏิบัติการเยาวชนทุกทีมจะต้องผ่านประสบการณ์การทำงานจริงที่มีความเข้มข้น นั่นคือการรับฟังคำติชมผลงาน และข้อเสนอแนะจากทุกทิศทาง ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญในประเด็นทางสังคมต่าง ๆ นักพัฒนาบอร์ดเกมและผู้เล่นอื่น เพื่อนำไปปรับแก้เกมซ้ำแล้วซ้ำเล่า  ถือเป็นช่วงสำคัญที่หล่อหลอมเยาวชนให้เติบโตเป็นนวัตกรต่อไปในอนาคตเรียกได้ว่าเป็นช่วงที่เยาวชนในโครงการเติบโตขึ้นในทุก ๆ ด้าน เพื่อประคองความเป็นทีมและพาผลงานเดินหน้าสู่ความสำเร็จให้ได้ถือเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง (Experiential Learning) อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้และจดจำได้ดีที่สุด”

 ทางด้านนายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บ้านปูฯตระหนักถึงความท้าทายในศตวรรษที่ 21 ที่โลกต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม จึงเห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่เยาวชนจะต้องมีความรู้ความสามารถที่สอดคล้องกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนไป ดังนั้น การศึกษาซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยบ่มเพาะให้คนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพมีทักษะที่ก้าวทันโลกและสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้แก่ตนเองและส่วนรวมได้หนึ่งในนั้นคือการมีทักษะการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อสร้างนวัตกรรม

“บ้านปูฯ มองว่าการเรียนรู้เป็นรากฐานสำคัญเพื่อพัฒนาคนในฐานะกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนชุมชนและสังคมให้พัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาว เราจึงมุ่งสร้างกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่เกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชนและการศึกษาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว และสำหรับโครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคมที่ทางบ้านปูฯ ร่วมสร้างและสนับสนุน เรายินดีที่ได้เห็นพัฒนาการของเยาวชนในโครงการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาและเราก็เชื่อว่านวัตกรรุ่นเยาว์ที่มีคุณภาพเหล่านี้จะสามารถนำกระบวนการเรียนรู้ที่ได้มาสร้างแรงกระเพื่อมที่ยิ่งใหญ่ให้แก ่ประเทศไทยในวันข้างหน้า” นายชนินท์ทิ้งท้าย

ทั้งนี้โครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคมไม่เพียงแต่ผลิตนวัตกรรุ่นเยาว์ทั้ง 20 ทีมเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างภาคีเครือข่ายในการทำงานพัฒนาคนร่วมกันขององค์กรเอกชน บุคลากรทางการศึกษา นักพัฒนาบอร์ดเกม และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในการพัฒนาและสร้างการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ นอกห้องเรียนต่อไป

ผู้สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ที่ www.facebook.com/tu.banpu