วันเสาร์, พฤษภาคม 18, 2024
หน้าแรกNewsดีป้า เดินหน้าเติมทักษะดิจิทัล เสริมศักยภาพบุคลากรวงการสื่อ กับโครงการ Digital Skills for Media Industry เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสื่อไทยเทียบเท่าตลาดโลก

ดีป้า เดินหน้าเติมทักษะดิจิทัล เสริมศักยภาพบุคลากรวงการสื่อ กับโครงการ Digital Skills for Media Industry เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสื่อไทยเทียบเท่าตลาดโลก

3 พฤศจิกายน 2566กรุงเทพมหานคร – ดีป้า จุดพลุโครงการ Digital Skills for Media Industry โดยการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ มุ่งส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนไทยให้สามารถปรับตัวทันต่อบริบทของสังคมในยุคดิจิทัล เสริมแกร่งความรู้ และพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลแก่ผู้บริหารและบุคลากรในอุตสาหกรรมสื่อ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนักศึกษาจบใหม่ให้มีศักยภาพและพร้อมเข้าสู่การเป็นบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมสื่อสมัยใหม่รวมกว่า 1,000 คน เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสื่อไทยให้เทียบเท่าตลาดโลก

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลที่รวดเร็วและมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทุกอุตสาหกรรมต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดย ดีป้า มีภารกิจสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาชนไทยในกลุ่มและทุกช่วงวัยรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง และสามารถเลือกประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัย ถูกต้อง และเหมาะสมกับบรบทของตนเอง

จากผลสำรวจมูลค่าอุตสากรรมดิจิทัลประจำปี 2565 ที่ดำเนินการโดย depa แสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมดิจิทัลที่ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมหลักคือ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (Software) อุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ (Hardware and Smart Devices) อุตสาหกรรมบริการดิจิทัล (Digital Services) อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) และ อุตสาหกรรมสื่อสาร (Telecommunication) มีมูลค่ารวมกว่า 2.61 ล้านล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนหน้าเฉลี่ย 14% โดยอุตสาหกรรมที่ขยายตัวสูงที่สุดคือ อุตสาหกรรมบริการดิจิทัล ซึ่งในปี 2565 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 281,515 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปี 2564 ถึง 21% และมีตัวเลขที่น่าสนใจจากกลุ่มอุตสาหกรรมบริการดิจิทัลที่สะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวของอุตสาหกรรมสื่อ ได้แก่ กลุ่มสื่อออนไลน์ (Online Media) มีมูลค่าอุตสาหกรรมอยู่ที่ 42,911 ล้านบาท เติบโต 19% และกลุ่มผู้ให้บริการโฆษณาออนไลน์ (e-Advertise) มีมูลค่าอุตสาหกรรมอยู่ที่ 22,119 ล้านบาท เติบโต 7%

นอกจากนี้ ดีป้า ยังได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย ประจำปี 2565 โดยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 40,518 ล้านบาท โดยหนึ่งอุตสาหกรรมที่น่าจับตาคือ อุตสาหกรรมแอนิเมชัน ซึ่งปีที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 15% มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 3,936 ล้านบาท โดยประเทศไทยถือเป็นแหล่งรับจ้างสำคัญของงาน Animation และ CG / VFX โดยกลุ่มประเทศที่เป็นผู้ว่าจ้างหลักคือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ กลุ่มประเทศจากทวีปยุโรป สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สิงคโปร์ กัมพูชา เวียดนาม แคนาดา โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2565 มากถึง 2,610 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโต 21% ซึ่งจุดแข็งที่ทำให้งาน Animation และ CG/VFX ของไทยเป็นที่ยอมรับมาจากบุคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญระดับสูง ความคิดสร้างสรรค์ และราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพของงาน

ดีป้า เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะดิจิทัลเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ต้องเปลี่ยนผ่านไปในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล จึงได้ดำเนินโครงการ Digital Skills for Media Industry โดยการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนให้สามารถปรับตัวต่อบริบทของสังคมในยุคดิจิทัล ผ่านการส่งเสริมการพัฒนาผู้บริหารสื่อและบุคลากรในอุตสาหกรรมสื่อ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถปรับตัวสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น รวมถึงส่งเสริมการพัฒนานักศึกษาจบใหม่ ให้มีศักยภาพและพร้อมเข้าสู่การเป็นบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมสื่อสมัยใหม่ และยกระดับอุตสาหกรรมสื่อไทยให้ทัดเทียมกับตลาดโลก โดยมีเป้าหมายรวม 1,060 คน” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

ทั้งนี้ บุคลากรในอุตสาหกรรมสื่อ รวมถึงกลุ่มนักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่ที่ต้องการเข้าสู่อุตสาหกรรมสื่อสามารถสมัครเข้าร่วมพัฒนาทักษะดิจิทัลในโครงการ Digital Skills for Media Industry โดยมีหลักสูตรดังนี้  

• – หลักสูตรพื้นฐานการสร้างคอนเทนต์ในยุคดิจิทัล (Basic Digital Content Creator)

• – หลักสูตร Canva เครื่องมือเพื่อการสร้างเทมเพลตในสื่อสังคมออนไลน์และวิดีโอยุคใหม่  
แอปเดียว ครบ จบทุกการผลิตสื่อ (Canva Design School for Motion Graphic)

• – หลักสูตรแนวคิดและเครื่องมือเพื่อการสร้างสื่อ Infographic & Graphic Design อย่างมืออาชีพ

• – หลักสูตรพื้นฐานการออกแบบดนตรีประกอบสื่อดิจิทัล

สำหรับบุคลากรภาครัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานสื่อสารมวลชนสามารถเข้าร่วมอบรมในหลักสูตร
นักประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ทุกหน่วยงานและองค์กรสามารถเป็นสื่อสารมวลชนในยุคดิจิทัลได้
ทั้งนี้มีการนำร่องโครงการ Digital Skills for Media Industry ด้วยหลักสูตรการบริหารงาน
สื่อครบวงจร (โทรทัศน์ วิทยุ ออนไลน์ ละคร ดนตรี ภาพยนตร์) สำหรับผู้บริหารในอุตสาหกรรมสื่อ ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการโทรทัศน์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ พร้อมกันนี้ยังมีการแถลงผลการศึกษาอุตสาหกรรมสื่อจาก 4 ประเทศต้นแบบ ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ รวมถึงแนวทางการปรับตัวของอุตสาหกรรมสื่อไทย พร้อมด้วยผลสำรวจความต้องการพัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากรสื่อและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด e-Book ได้ที่ https://short.depa.or.th/ebook_DigitalSkills4Media  
นอกจากนี้ในหลักสูตรการบริหารงานสื่อครบวงจรฯ ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรตัวจริงจากวงการสื่อ 15 ท่านมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์อีกด้วย

ผู้สนใจสามารถเลือกลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรที่สนใจหรือสอดคล้องกับงานและบทบาทของตนเองได้ 1 หลักสูตรต่อ 1 ท่าน โดยสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมได้แล้ววันนี้ – วันที่ 10 พฤศจิกายนนี้ ศึกษารายละเอียดหลักสูตร คุณสมบัติและเกณฑ์การพิจารณาเข้าร่วมโครงการฯ ได้ที่ Facebook Page: DigitalSkillsforMediaIndustry , https://short.depa.or.th/DigitalSkills4Media_register  หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 082 449 4598, 090 987 9937 และ LINE ID: @digiskills4media

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments