วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรกNewsศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานคณะทำงานนโยบาย กทม.ประกาศสงครามปัญหามลพิษทางอากาศ PM 2.5 ลงพื้นที่วัดค่า PM 2.5 ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะตั้งปณิธานผลักดันให้เกิด “กฎหมายอากาศสะอาด” เพื่อปกป้องคนกรุงเทพ

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานคณะทำงานนโยบาย กทม.ประกาศสงครามปัญหามลพิษทางอากาศ PM 2.5 ลงพื้นที่วัดค่า PM 2.5 ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะตั้งปณิธานผลักดันให้เกิด “กฎหมายอากาศสะอาด” เพื่อปกป้องคนกรุงเทพ

ทำไม “กฎหมายอากาศสะอาด” ถึงเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา PM 2.5 ได้อย่างยั่งยืน? ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (หรือ ดร.เอ้) นักวิศวกร นักวิชาการ และนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อดีตนายกสภาวิศวกร สมัยที่ 7 อดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และอดีตประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ก่อนเปิดตัวเข้าร่วมและลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามพรรคประชาธิปัตย์ ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะทำงานนโยบาย กทม.พร้อมประกาศสุดจะทนกับปัญหามลพิษทางอากาศ PM 2.5
โดยเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา ได้ลงพื้นที่วัดค่า PM 2.5 ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ นำทีมโดย ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานคณะทำงานนโยบาย กทม. , นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย รองโฆษกพรรค  และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขตหลักสี่ – จตุจักร ผู้การแต้ม พล.ต.ต วิชัย สังข์ประไพ ได้เข้าตรวจ PM2.5 ที่บริเวณศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ  ซึ่งเป็นจุดที่มีการจราจรหนาแน่นโดยเฉพาะในช่วงเช้าที่มีการสัญจรไปมา รวมถึงมีการก่อสร้างในบริเวณใกล้เคียง โดยทีมเข้าตรวจวัดฝุ่นpm 2.5 เพื่อให้รู้ว่าสิ่งที่มองไม่เห็นนั้น มันอันตรายกว่า โควิด 19 ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ หากแต่ภัยจาก PM2.5 สามารถซึมเข้าไปในร่างกายได้อย่างต่อเนื่อง และสุดท้ายอาจทำให้เกิดภาวะสมองตายได้  

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานคณะทำงานนโยบาย กทม. ซึ่งมองเห็นว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ จึงพร้อมนำเสนอให้มี กฎหมายอากาศสะอาด เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาในอนาคต โดยได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า 15 จังหวัดที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินเกิน 3 วัน ส่วนใหญ่อยู่ภาคเหนือ รวม ถึงในกทม.ทั้ง 50 เขต ตั้งแต่ต้นปีมีผู้ป่วยเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ 1.32 ล้านคน สัปดาห์นี้ป่วยอีก 1.96 แสนคน โดยเน้นย้ำว่ากลุ่มเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้งช่วงที่มีฝุ่นสูง ทั้งผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคทางปอดและหัวใจ รวมถึงเด็กเล็ก โดยช่วงที่มีค่ามีฝุ่นสูง ซึ่งจากการเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 5 มีนาคม 2566 พบผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศรวม 1,325,838 ราย โดยกลุ่มโรคที่เจ็บป่วยสูงสุด ได้แก่ โรคทางเดินหายใจ 583,238 ราย กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ 267,161 ราย กลุ่มโรคตาอักเสบ 242,805 ราย และโรคหัวใจ หลอดเลือดและสมอง ถึง 208,880 ราย จึงเป็นที่มา ที่เราอยากรณรงค์ให้เกิด “กฎหมายอากาศสะอาด” จะช่วยให้หน่วยงานที่ดูแลและแก้ไขปัญหา PM 2.5 มีอำนาจในการบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมและแก้ไขปัญหาที่ต้นตอของ PM 2.5  ที่ผ่านมาหน่วยงานต่าง ๆ มักจะแก้ปัญหาอย่างเฉพาะหน้า สาเหตุหนึ่งมาจากการไม่มีกฎหมายมารองรับ และสนับสนุนอย่างจริงจัง ทำให้ไม่สามารถควบคุมและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากแหล่งกำเนิดได้ เลยต้องไปแก้ไขที่ปลายเหตุ สุดท้ายปัญหาคงก็อยู่

ถ้าศึกษาจากตัวอย่างของต่างประเทศที่เขาเคยเจอมาหนักมากกว่าเรา ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ อเมริกา หรือจีนพวกเขายังสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน ด้วยการนำ “กฎหมายอากาศสะอาด” มาบังคับใช้ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษเคยเจอวิกฤติหมอกอย่างหนักในปี 1952 แต่ก็สามารถเอาชนะปัญหามาได้ด้วยการออกกฎหมายอากาศสะอาด “Clean Air Act ในปี 1956” ควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษอย่างจริงจัง และมีการวิจัยมาแล้วว่าหลังกฎหมายออกมาสามารถลดปัญหามลพิษได้จริง สามารถเห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรม พิสูจน์แล้วว่าวันนี้กรุงลอนดอนอากาศสะอาดมากแค่ไหน อเมริกาในสมัยประธานาธิบดีนิกสันได้ออกกฎหมายอากาศสะอาด “Clean Air Act of 1970” หรือ CAA  ทำให้อเมริกากลายเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จระดับโลกในการจัดการมลพิษทางอากาศ

ล่าสุดประเทศยักษ์ใหญ่ในด้านอุตสาหกรรมอย่างจีนที่กรุงปักกิ่งเคยเจอปัญหามลภาวะอยากหนักมาก่อน จนรัฐบาลจีนต้องออก “กฎหมายป้องกันและควบคุมมลพิษทางอากาศ” มีแผนปฏิบัติการเมืองปักกิ่งเพื่ออากาศสะอาด ออกมาตรการระดับชาติ 10 ประการ จนวันนี้ปักกิ่งกลับมาอากาศสะอาดกว่ากรุงเทพ

แต่วันนี้ประเทศไทยยังไม่มี “กฎหมายอากาศสะอาด” เพื่อคุ้มครองให้คนในชาติได้สูดอากาศบริสุทธิ์แม้แต่ฉบับเดียว ที่ผ่านมาแม้จะมีการผลักดัน “กฎหมายอากาศสะอาด” จากหลายภาคส่วน แต่ก็ยังถูกละเลย ไม่มีการนำมาประกาศบังคับใช้ บางคนอาจมองว่า “กฎหมายอากาศสะอาด” ซ้ำซ้อน เพราะกฎหมายสิ่งแวดล้อมเดิมก็มีอยู่ แต่ที่ผ่านมาก็พิสูจน์มาแล้วว่าถ้ากฎหมายสิ่งแวดล้อมเดิมใช้ได้จริงพวกเราชาวกรุงเทพคงไม่ต้องมาทนกับปัญหานี้ในปัจจุบัน

“กฎหมายอากาศสะอาด” ที่ออกมาจะช่วยเป็น “เครื่องมือ” ให้หน่วยงานที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม สามารถนำมาตรการและข้อบังคับไปควบคุมสาเหตุของ PM 2.5 ได้ถึงต้นตอ ไม่ว่าจะเป็น
– การกำหนดเขตพื้นที่มลพิษต่ำ ใจกลางเมือง 
– การควบคุมรถควันดำ ต้นตอสำคัญของ PM 2.5
– การจัดเก็บภาษีการปล่อยมลพิษยิ่งปล่อยมากยิ่งจ่ายมาก เพื่อเป็นการบังคับให้หาทางลดการปล่อยมลพิษ
– การลดภาษีพื้นที่สีเขียวเป็นรางวัลให้คนทำดี
ทั้งหมดนี้เป็นทางรอดเพื่อให้พวกเราชาวกรุงเทพได้กลับมาสูดอากาศบริสุทธิ์กันทุกคนครับ” ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นอกจากจะนำเสนอ กฎหมายอากาศสะอาด แล้ว ยังตั้งทีมเพื่อวัดค่าฝุ่น PM2.5อย่างต่อเนื่อง เพื่อประกาศสงครามกับปัญหามลพิษทางอากาศ PM 2.5 พร้อมนำเสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขเบื้องต้นให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆต่อไป

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments