วันอังคาร, พฤษภาคม 7, 2024
หน้าแรกNews73 ปี THAICID มุ่งขับเคลื่อนงานชลประทานอย่างยั่งยืนด้วย BCG model สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

73 ปี THAICID มุ่งขับเคลื่อนงานชลประทานอย่างยั่งยืนด้วย BCG model สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

ครบรอบ 73 ปี คณะกรรมการ THAICID จับมือ กรมชลประทาน สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เครือข่ายสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการและเอกชน เปิดเวที “สัปดาห์เครือข่าย THAICID เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างบูรณาการ หรือ THAICID-NWIKS” ประจำปี 2566 พร้อมจัดแสดงนิทรรศการและการสาธิตเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากเครือข่ายกว่า 25 หน่วยงาน

3 กรกฎาคม 2566 – นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัปดาห์เครือข่าย THAICID เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างบูรณาการ ประจำปี 2566 (The THAICID Network Week for Integrated Knowledge Sharing 2023 : THAICID-NWIKS 2023) โดยมี นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมชลประทาน คณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าร่วมงานดังกล่าว ณ หอประชุมชูชาติ กำภู สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะประธานคณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย (THAICID) เปิดเผยว่า งาน “สัปดาห์เครือข่าย THAICID เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างบูรณาการ ประจำปี 2566” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 7 กรกฎาคม 2566 ณ สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นความร่วมมือระหว่าง คณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย (THAICID) กรมชลประทาน สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เครือข่ายสถาบันการศึกษา และหน่วยงานราชการและเอกชน เพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่งานวิชาการ ด้านการชลประทานและการระบายน้ำ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างบูรณาการ ระหว่างสมาชิกเครือข่าย โดยนำเสนอภายใต้หัวข้อหลัก “การขับเคลื่อนงานชลประทานและการระบายน้ำแบบ SMART สนับสนุนกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน (BCG Model) และเป้าหมายการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (SMART Irrigation and Drainage Management complying with Thailand BCG and Carbon Neutrality)”


“การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกเป็นโจทย์ที่ท้าทายทั้งประเทศไทยและทั่วโลก จากการตื่นตัวของทุกภาคส่วนจะเป็นพลังในการร่วมมือกันขับเคลื่อนภารกิจสำคัญในด้านต่าง ๆ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างบูรณาการตลอดระยะเวลา 5 วัน มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งในการนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์มาใช้ในการขับเคลื่อนงานตั้งแต่ระดับนโยบาย ขยายผลสู่ภาคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่องานชลประทานและการระบายน้ำในสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปในอนาคต” อธิบดีกรมชลประทาน กล่าว

ด้านนายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย (THAICID) กล่าวว่า กิจกรรมภายในงานมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการ สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาร่วมจัดแสดงมากมาย อาทิ การปาฐกพิเศษในหัวข้อหลัก “การขับเคลื่อนงานชลประทานและการระบายน้ำแบบ SMART สนับสนุนกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อความยั่งยืน (BCG Model) และเป้าหมายการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน” โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรทั้งในและต่างประเทศ พร้อมกับเจาะลึกการเสวนาในหัวข้อ “อนาคตชาวนากับการทำนาใช้น้ำน้อย” ที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนการทำนาแบบเปียกสลับแห้งแกล้งข้าวอย่างเป็นรูปธรรมในเขตพื้นที่ชลประทาน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการและการสาธิตเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นผลงานจากเครือข่ายกว่า 25 หน่วยงาน รวมทั้งการจำหน่ายสินค้าเกษตรและสินค้า OTOP ด้วย

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments