วันอังคาร, เมษายน 30, 2024
หน้าแรกMovieความน่าทึ่งหลังฉาก “คู่หูผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์” จากเทพนิยายสุดอัศจรรย์ สู่มหัศจรรย์ภาพยนตร์รัสเซียแฟนตาซี ที่โรงภาพยนตร์เครือ SF ทั่วประเทศ 4 เม.ย.นี้ เป็นต้นไป

ความน่าทึ่งหลังฉาก “คู่หูผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์” จากเทพนิยายสุดอัศจรรย์ สู่มหัศจรรย์ภาพยนตร์รัสเซียแฟนตาซี ที่โรงภาพยนตร์เครือ SF ทั่วประเทศ 4 เม.ย.นี้ เป็นต้นไป

“วันภาพยนตร์มอสโกในประเทศไทย” (Moscow Film Days in Thailand) เทศกาลที่นำเสนอภาพยนตร์คุณภาพ ครั้งแรกและครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมภาพยนตร์รัสเซีย ที่จัดฉายในประเทศไทย ซึ่งจัดโดย กรมวัฒนธรรมประจำรัฐบาลกรุงมอสโก, สำนักงานอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ประจำ กรุงมอสโก, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประจำประเทศไทย และดำเนินการโดย JMCC Agency เพื่อฉายภาพยนตร์ยอดเยี่ยม 5 เรื่อง ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2567 ล่าสุดส่งความสุขต่อเนื่องด้วยภาพยนตร์เรื่องที่สี่ลงจอ ด้วยภาพยนตร์กึ่งแอนนิเมชั่นแฟนตาซีเหนือจินตนาการ กับเรื่องราวแห่งมิตรภาพ ความรัก และมนตรา จากเทพนิยายสุดอัศจรรย์ สู่การผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์ เรื่อง “คู่หูผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์” (Upon the Magic Roads) ที่จะดึงดูดผู้ชมทุกวัยและรับชมได้ทั้งครอบครัว พร้อมกันทั่วประเทศ ที่โรงภาพยนตร์ในเครือ SF ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายนนี้ เป็นต้นไป

“คู่หูผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์” (Upon the Magic Roads) เป็นภาพยนตร์ที่มาสร้างจากเทพนิยายสุดอัศจรรย์ ซึ่งประพันธ์ขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 บอกเล่าเรื่องราวของ จอห์น ชายหนุ่มแสน

โรแมนติก และโฟล เพื่อนซี้แสนฉลาด พวกเขาได้ออกเดินทางผจญภัยที่คาดเดาไม่ได้ สองคู่หูต้องหาทางเอาชนะกษัตริย์สุดชั่วร้าย ตามจับนกเพลิง และค้นหารักแท้ในดินแดนมหัศจรรย์ แต่มิตรภาพของพวกเขาจะฝ่าฟันอุปสรรคและความยากลำบากในการผจญภัยครั้งนี้ได้หรือไม่ ต้องติดตาม!…สามารถมารับชมพร้อมกันได้ทั้งครอบครัว

โอกาสนี้ เราลองมาฟังเบื้องหลังการสร้างอันน่าทึ่งของภาพยนตร์อันลือลั่น “คู่หูผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์” (Upon the Magic Roads) ด้วยกัน

การออกแบบงานสร้าง

ผู้ออกแบบงานสร้าง อนาสตาเซีย คาริมูลินา (Anastasia Karimulina) เข้ามารับผิดชอบในองค์ประกอบเป็นรูปเป็นร่างของการออกแบบฉาก ขณะที่น้องใหม่มาแรง อิซาเบลา ซิชอนสกา (Izabela Cichonska) ศิลปินสัญชาติโปแลนด์ และนักศึกษาเกียรตินิยมสาขาสถาปัตยกรรม ผู้เคยทำโปรเจกต์งานออกแบบภายในให้กับ อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน (Alexander McQueen) และสนามโอลิมปิก ในกรุงลอนดอนมาก่อน ได้เข้าร่วมทีมดูแลงานวิชวลเอฟเฟกต์ของหนังเรื่องนี้เพื่อสร้างงานซีจี

ขณะที่ คาริมูลินา และ ซิชอนสกา ต้องทำงานกับทีมออกแบบเครื่องแต่งกายอย่างใกล้ชิด โดยทั้งคู่ได้แรงบันดาลใจจากสไตล์งานภาพของ อิวาน บิลิบิน (Ivan Bilibin) นักวาดภาพประกอบและนักออกแบบเวทีชื่อดัง งานจิตรกรรมพื้นบ้านของ วิคเตอร์ วาสเนตซอฟ (Victor Vasnetsov) งานศิลปะรัสเซียสมัยใหม่ งานสถาปัตยกรรมไม้ในยุคกลาง และผลงานศิลปะของคนอื่นๆ ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างแต่หลากหลายตั้งแต่งานประติมากรรม จนถึงงานแกะสลัก

เนื่องจากภาพยนตร์เรื่อง คู่หูผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์ (Upon the Magic Roads) เป็นภาพยนตร์ครอบครัว บรรดานักออกแบบงานสร้าง จึงมีการเพิ่มองค์ประกอบแบบพิมพ์นิยมที่กำเนิดมาจากบรรดาวรรณกรรม ศาสนา และนิทานชื่อดัง ซึ่งเด็กๆ ทุกคนจะจดจำบรรดาสารพัดสัตว์มหัศจรรย์ได้ทันที เช่นเดียวกับงานประดับด้วยดอกไม้นานาชนิดตรงส่วนที่เป็นด้านหน้าของแต่ละสถานที่

ในการสร้างเมืองแห่งดินแดนมหัศจรรย์นี้ นักออกแบบงานสร้างจึงได้ใช้พื้นที่ขนาดเท่าตลาดในชีวิตจริง มีแผงลอยต่างๆ เช่นเดียวกับการทำถนนที่มีบ้านไม้อยู่ข้างทาง ประตูเมืองสุดหรู และบริเวณใต้พระราชวังของกษัตริย์ในภาพยนตร์ ส่วนที่เหลือของเมืองนั้นก็ทำด้วยซีจี รวมถึงอาคารกว่า 70 แห่งที่ใช้ความบากบั่นสร้างขึ้นมาได้แสนละเอียดละออ อย่างงานสร้างพระราชวังที่ได้แรงบันดาลใจจากหีบโบราณที่ประกอบด้วยช่องเก็บลับมากมาย

“เมื่อเปิดดูพระราชวังในหนังก็จะดูเหมือนกล่องเก็บ อัญมณีเลยค่ะ มันมีหลายๆ ชั้น และมีระดับลดหลั่นกันไป ราวกับมีเครื่องกลไกเล่นอยู่ภายใน ที่ทำให้สิ่งที่อยู่ข้างในกล่องนั้นทำงาน” ซิชอนสกา อธิบาย และเล่าต่อว่า

ไม่ว่าจะเป็นบรรดาห้องของกษัตริย์ที่สามารถแปลงสภาพจากห้องบรรทมกลายเป็นห้องบัลลังก์ได้ แล้วกลับสู่สภาพเดิมได้อีก ซึ่งมีผลต่อตัวละครที่ทำให้เขาไม่ต้องเสียเวลาเดินรอบๆ วังที่มีห้องมากมายขนาดนั้น รวมถึงมีฉากที่เจ้าหญิง (แสดงโดย พอลีนา แอนเดรเอวา Paulina Andreeva) อาศัยในพระราชวังทำด้วยคริสตัลบนยอดเขาแสนเยือกเย็น ซึ่งโลกแสนเยือกเย็นของเธอ ช่างแตกต่างจากดินแดนมหัศจรรย์ของจอห์นที่มีแสงแดดส่องและอบอุ่น แต่ผู้กำกับ โอเลก โพโกดิน ไม่ต้องการให้พระราชวังสร้างโดยน้ำแข็งดูสูตรสำเร็จจนเกินไป เขาจึงให้นักออกแบบสร้างห้องโถงยิ่งใหญ่ ที่ประกอบแถวแต่ละช่องๆ ด้วยงานเคลือบแทน

“พวกงานเคลือบก็ดูเยือกเย็นเหมือนน้ำแข็ง และช่วยเล่าเรื่องราวของชีวิตเจ้าหญิงว่าเธอเหมือนตุ๊กตาที่มีชีวิต อาศัยในดินแดนที่เปราะบาง แตกหักแบบงานเคลือบค่ะ” อิซาเบลา ซิชอนสกากล่าว เจ้าหญิงผู้นั้นนอนอยู่ในโลงคริสตัลที่แขวนอยู่ราวกับตุ๊กตาโชว์หน้าร้าน แล้วเธอรอคอยเจ้าชายหรืออัศวินสักคนขอเธอแต่งงาน แต่ก็มีความยากลำบากของตัวละครที่คู่ควร จึงมีร่างเหมือนของบรรดาเจ้าหญิงทั่วโถง แต่มีเพียงหนึ่งเดียวที่เป็นตัวจริง

เมื่อจอห์นพาเจ้าหญิงผู้นั้นมายังพระราชวัง สภาพห้องใหม่ของเจ้าหญิงก็ตัดกับบ้านหลังเก่าที่เธอเคยอาศัยบนภูเขาอย่างสิ้นเชิง เพราะนักออกแบบงานสร้างของหนังจินตนาการเป็นภาพว่าห้องใหม่ของเจ้าหญิงคือป่าในเทพนิยายที่เธอถูกจองจำเหมือนนก

พลาดไม่ได้ กับเทพนิยายอันแสนสนุก “คู่หูผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์” (Upon the Magic Roads) รับชมได้ในโรงภาพยนตร์เครือ เอสเอฟ ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายนนี้ เป็นต้นไป

คลิกชมภาพยนตร์ตัวอย่าง : https://disk.yandex.ru/d/pmz_alr5Ql_YCQ

ตรวจสอบรอบฉายและซื้อบัตรชมภาพยนตร์ล่วงหน้าได้ผ่านแอปพลิเคชั่น SF และ www.sfcinema.com สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านโซเชียลมีเดีย #SFcinema

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments