วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
หน้าแรกPr.ปลอดโรคอ้วนด้วย 3 ปัจจัยหลัก ลดหวาน ฉลาดเลือก และมาตรการภาษี

ปลอดโรคอ้วนด้วย 3 ปัจจัยหลัก ลดหวาน ฉลาดเลือก และมาตรการภาษี

ปัญหาโรคอ้วนแก้ได้ด้วยลดเครื่องดื่มหวาน การรณรงค์ลดการบริโภคหวานจะสำเร็จได้ ต้องสร้างความรอบรู้ ฉลาดเลือกให้ผู้บริโภค ชี้ความร่วมมือรัฐเอกชนที่จริงจัง และยุทธศาสตร์ระยะยาวช่วยผลักดันให้สำเร็จเร็วขึ้น

นพ.ดร.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. เปิดเผยว่า ความหวานถือเป็นตัวกำหนดสุขภาพอย่างหนึ่ง ส่งผลให้เกิดโรค NCDs เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนอ้วน และฟันผุ โดยในส่วนของ สสส. ซึ่งเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนรณรงค์การสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับเครือข่ายทางการแพทย์ ทางวิชาการ และมูลนิธิต่างๆ เพื่อให้คนไทยรู้ถึงโทษของการบริโภคหวานเกินกำหนด มาตรการต่างๆ ที่ร่วมรณรงค์จะสำเร็จได้นั้นจะต้องประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ 1.การสร้างความรอบรู้การบริโภค 2.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความหวานให้มีทางเลือกมากขึ้น และ 3.มาตรการทางภาษี ทั้งหมดนี้การสร้างความรอบรู้การบริโภคหรือฉลาดเลือกเป็นสิ่งสำคัญสุดที่การบริโภคหวานของคนไทยจะลดลงได้

AnVv50.jpg AnVpfR.jpg

อย่างไรก็ตาม นพ.ดร.ไพโรจน์ ยังเชื่อว่า การให้ความรู้อย่างเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ จำเป็นต้องจัดการบริบทและสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์บริโภคหวานน้อยลง อย่างเช่น กิจกรรมปลอดน้ำอัดลมในโรงเรียน โรงอาหารอ่อนหวาน การลงนามความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายส่งเสริมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลอย่างเหมาะสมและสร้างความรอบรู้ในการบริโภค เช่น อาหารระหว่างช่วงพักเบรก การขายอาหาร หรือการจัดอาหารภายในองค์กร ซึ่งเป็นความรู้ทั่วไปที่จำเป็นต้องจัดการ

นพ.ดร.ไพโรจน์ กล่าวด้วยว่า นอกจากปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการลดบริโภคหวานแล้ว ยังมีมาตรการภาษีซึ่งบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย.2560 โดยเพิ่มขึ้น การขึ้นภาษีไม่ใช่เพราะรัฐอยากได้เงินภาษี สิ่งที่เรามุ่งหวัง คือ ต้องการให้ภาคธุรกิจเกิดการปรับสูตรเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลลดลง เพื่อสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งภาคธุรกิจเองก็พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนสูตรหรือเพิ่มทางเลือก อย่างไรก็ตาม การที่ผู้บริโภคจะลดหวานลงได้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในยะยาว และยุทธศาสตร์จะเป็นตัวเร่งให้เกิดผลสำเร็จอย่างจริงจัง

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments