วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรก News สสว.ติดปีก”เอสเอ็มอีไทย”เฟสแรกสำเร็จ ยกระดับผู้ประกอบการใหม่-ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโตสู่มืออาชีพ

สสว.ติดปีก”เอสเอ็มอีไทย”เฟสแรกสำเร็จ ยกระดับผู้ประกอบการใหม่-ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโตสู่มืออาชีพ

0
สสว.ติดปีก”เอสเอ็มอีไทย”เฟสแรกสำเร็จ ยกระดับผู้ประกอบการใหม่-ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโตสู่มืออาชีพ

สสว.ติดปีก”เอสเอ็มอีไทย”เฟสแรกสำเร็จ ยกระดับผู้ประกอบการใหม่-ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโตสู่มืออาชีพ เล็งสานต่อโครงการ เพื่อผลักดันเศรษฐกิจฐานรากของไทย

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) แถลงความสำเร็จโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (SME Start Up) และโครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SME Strong/Regular Level)ถือเป็นจุดเรื่มต้นความสำเร็จในการพัฒนาผู้ประกอบไทยให้มีศักยภาพและต่อยอดผู้ประกอบการที่พร้อมเติบโตให้แข็งแกร่ง ก้าวต่อไป สสว เตรียมสานต่อโครงการเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการศักยภาพ ตั้งเป้า 200,000 ราย และบ่มเพาะเชิงลึกอีก 14,500 ราย เพื่อผลักดันเศรษฐกิจฐานรากของไทย

นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนายการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม (สสว.) เปิดเผยโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (SME Start Up) ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน โครงการได้คัดเลือกผู้สมัครเพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญให้ผู้ประกอบการกว่า 30,000 ราย ใน 5 กลุ่ม อุตสาหกรรมเป้าหมายรวมทั้งผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อย วิสาหกิจชุมชนระดับฐานรากที่ส่วนใหญ่อยู่ไนภาคการเกษตรถึง 70% ช่วยยกระดับภาคการผลิตไปสู่เกษตรแปรรูปที่มีคุณภาพมาตรฐาน ผ่าน 6 พื้นที่ด้าเนินการ คือ ภาคเหนือตอนบน 11 จังหวัด ภาคเหนือตอนล่าง 7 จังหวัด ภาคกลาง – ภาคตะวันออก 25 จังหวัด ภาคอีสานตอนบน 12 จังหวัด ภาคอีสานตอนล่าง 8 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด โดยในแต่ละพื้นที่ดำเนินการ เมื่อผ่านการอบรมจะเฟ้นหาผู้ประกอบการที่มีความพร้อมเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ประเมินศักยภาพธุรกิจในด้านต่างๆ โดยจัดที่ปรึกษา ผู้เชียวชาญให้คำปรึกษาแนะแนวทางการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการดำเนินธุรกิจ ยกระดับการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ลดเวลาดำเนินการ แนะการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ การสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างมาตรฐานสินค้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการ การวางแผนการตลาดหรือ แม้แต่การสร้างแบรนด์ โดยจะเป็นการจัดทำแผนธุรกิจทั้งหมดแบบครบวงจร เมื่อผ่านกระบวนการดังกล่าวแล้วจึงจะคัดเลือกผู้ประกอบการที่โดดเด่นและมีศักยภาพเชื่อมโยงสถาบันการเงินเพื่อพิจารณาแผนธุรกิจของผู้ประกอบการ และดึงเข้าสู่ระบบภาษี

ทั้งนี้จากความสำเร็จของโครงการดังกล่าว ได้พัฒนาผู้ประกอบการใหม่ที่มีศักยภาพเพื่อก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพให้สามารถเริมด้นธุรกิจและเติบโตแล้วกว่า 18,000 ราย

ขณะที่ โครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SME Strong/Regular Level) สสว. ได้ดาเนินการคัดเลือกผู้ประกอบการกว่า 10,000 รายในกลุ่มที่มีศักยภาพที่ดำเนินธุรกิจมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี และพร้อมที่จะพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการจากภาคการผลิต การค้า และบริการ ในกลุ่มธุรกิจอาหาร ท่องเที่ยวและโรงแรม ธุรกิจการเกษตรและเกษตรแปรรูปกลุ่มสิ่งทอ แฟชั่นไลฟ์สไตล์ กลุ่มชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และ กลุ่ม S-Curve

ซึ่ง สสว.ได้จัดอบรมให้ความรู้ด้านการบรหารจัดการการผลิต การตลาด และให้ความรู้ด้านบัญชีและการเงินตามนโยบายมาตรการ Financial Literacy เพื่อให้ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญของการทำบัญชีเดียว รวมทั้งให้คำปรึกษาและพัฒนาเชิงลึก ณ สถานประกอบการ เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการให้สูงขึ้น และยกระดับเพื่อให้ได้รับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากล ผ่านการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ในห้องปฏิบัติการ และ เตรียมความพร้อมเพื่อยกระดับมาตรฐานต่าง ๆ เช่น มาตรฐาน อย. , มอก. , ISO , HACCP เป็นต้น ซึ่งความสำเร็จของโครงการดังกล่าว สสว. ได้พัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการในกลุ่มศักยภาพแล้วกว่า 3,500 กิจการ

ทั้งนี้จากความสำเร็จทั้ง 2 โครงการนับเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการใหม่และผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสามารถพัฒนาและเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ติดอาวุธให้ธุรกิจอยู่รอดได้ภายใต้การแข่งขันของธุรกิจในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากการเพิ่มองค์ความรู้ เสริมทักษะในการประกอบธุรกิจให้สามารถสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพให้ได้มาตรฐาน มีมูลค่า สูงแข่งขันได้ทังในประเทศและต่างประเทศ ผลักดันผู้ประกอบการไทยก้าวสู่เวทีสากล

ส่วนระยะถัดไป สสว.เตรียมเดินหน้าโครงการตามยุทธศาสตร์ เพื่อเพิ่มผู้ประกอบการศักยภาพในระบบ ตั้งเป้า 200,000 ราย และบ่มเพาะเชิงลกอีก 14,500 ราย โดยวางกลยุทธ์การพัฒนาตั้งแต่ระบบนิเวศเอสเอ็มอีทีมีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจ เช่น การตั้งหน่อยงานให้บริการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ครบถ้วน การปรับปรุงสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ ทำให้เอสเอ็มอีเริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายและเติบโตอย่างรวดเร็ว ขณะที่การเพิ่มขีดความสามารถ เตรียมยกระดับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของเอสเอ็มอีเป็นเครื่องมือเพิ่มศักยภาพที่จะแข่งขันธุรกิจในระดับสากล นับเป็นการเชื่อมโยงบริบทเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจโลกให้เติบโตไปพร้อมกัน