วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกNewsกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยฯ จับมือ มูลนิธิเพื่อการศึกษาและพัฒนามุสลิมอีสาน และ ทีวีบูรพา ผลักดันท้องถิ่นไทย ถักทอสองวัฒนธรรมเป็นผืนเดียวกัน

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยฯ จับมือ มูลนิธิเพื่อการศึกษาและพัฒนามุสลิมอีสาน และ ทีวีบูรพา ผลักดันท้องถิ่นไทย ถักทอสองวัฒนธรรมเป็นผืนเดียวกัน

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ  มูลนิธิเพื่อการศึกษาและพัฒนามุสลิมอีสาน (ศ.พ.อ.) สำนักงาน วัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี สถาบันศิลปะอิสลามแห่งประเทศไทย บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด และภาคีเครือข่าย จัดงาน “Soft power : ทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยสู่ตลาดโลกมุสลิม” ภายใต้แนวคิด สันติสุข I มั่งคั่ง I ยั่งยืน โดยทางโครงการ “ผ้าทออีสาน: จาก วัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิม” เป็นเวทีสรุปและถอดบทเรียนการดำเนินงานตลอดทั้งโครงการ ในวัน พุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00 – 13.30 น. ณ บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด ซอยโยธินพัฒนา เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ

ทั้งนี้ภายในงานยังได้รับเกียรติจากสำนักจุฬาราชมนตรี ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคีเครือข่าย ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับชมนิทรรศการและงาน เสวนาถอดบทเรียนและขยายผลการดำเนินงานในโครงการฯ เพื่อร่วมกันผลักดันพลัง Soft power ทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย ให้สามารถเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิมทั้งในและต่างประเทศ สามารถสร้างความมั่งคั่ง และความยั่งยืนให้กับชุมชน ภายใต้ แนวคิด “ทุนวัฒนธรรม ก่อเกิดสันติสุข สร้างความ มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน”

อ.สุวัยบ๊ะห์ ประพฤติชอบ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า โครงการผ้าทออีสาน จากวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การเพิ่มมูลค่าเชิง พาณิชย์ในตลาดมุสลิม เกิดขึ้นจากความตั้งใจหลัก 3 ประการ หนึ่ง คือ การทำความรู้จักกันของคนต่างวัฒนธรรม ต่างความความ เชื่อ และต่างพื้นที่ สอง คือการเคารพในสิทธิทางความเชื่อของกันและกัน และสาม คือการช่วยเหลือแบ่งปัน ในแง่ของโอกาส ช่อง ทางการสร้างรายได้และการส่งมอบองค์ความรู้อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทุนวัฒนธรรมให้เกิดเป็นมูลค่าที่จับต้องได้จริง โดยได้เน้นย้ำว่า “ให้ผืนผ้าเป็นดั่งสะพานเชื่อมระหว่างสองวัฒนธรรม” ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวชื่นชมการจัดงานมหกรรมผ้าทอ อีสานฯ ที่ผ่านมา จากท่านบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ที่ว่า “ผ้าทออีสานที่ผสานลวดลายศิลปะอิสลามนับเป็น นวัตกรรมใหม่ของงานผ้า ที่ผมไม่เคยพบเจอที่ไหนมาก่อน จึงมองเห็นโอกาสทางการตลาดที่ไม่ใช่แค่อาเซียน หากแต่สามารถที่จะ สร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับคนทอผ้าได้ไกลทั่วโลก”

“งานโครงการในครั้งนี้เกิดขึ้นโดยคนอีสานทั้งที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม ซึ่งนับเป็นการสร้างจุดบรรจบที่พอดี ระหว่างสองวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมและศิลปะอิสลามในอีสานที่นับเป็นความแปลกใหม่ ดังนั้นแล้วเมื่อนำเอาความโดดเด่น ทางภูมิปัญญางานทอผ้าของคนอีสานกับศิลปะอิสลามมาผสานจนเกิดเป็นลวดลายใหม่ จึงนับเป็นจุดบรรจบที่ไม่มีกำแพงขวางกั้น และเป็นงานทางวัฒนธรรมในมิติใหม่ที่มีมูลค่าและคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง” รศ.ดร.ปกรณ์ ปรียากร ผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานฮาลา ลแห่งประเทศไทย กล่าว

โดยก่อนหน้านี้ ทางโครงการได้มีโอกาสนำเสนอผลงาน และภาพลักษณ์ของแบรนด์ “LE’KANIS” ในงานแสดงสินค้า และการประชุมสัมมนานานาชาติด้านฮาลาล (WORLD HAPEX THAILAND 2022) ที่มีการจัดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 11 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ผ่านมา ในธีมงาน “หัตถศิลป์ผ้าทออีสาน คุณคาทางวัฒนธรรม นำสู่มูลคาในอาเซียน” นับเป็นการเปิดตัว เพื่อสร้างการรับรู้งานนวัตกรรมด้าน ลวดลายผ้าทออีสานกับอัตลักษณ์แห่งศิลปะอิสลาม (Isaan Culture X Islamic Arts) และการเปิดตัวแบรนด์ LE’KANIS : แรง บันดาลใจจากภูมิปัญญาสู่ความเลอค่า ได้อย่างงดงาม

โครงการ “ผ้าทออีสาน: จากวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิม” เป็นโครงการที่ได้รับการ สนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ปีงบประมาณ 2564 สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของ โครงการได้ที่ www.lekanis.com หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง 081-537-5779

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments