Free Porn
xbporn
วันเสาร์, ตุลาคม 12, 2024
หน้าแรกNewsรมว.ยุติธรรม คิกออฟกองทุนยุติธรรม ก้าวสู่ปีที่ 10 เดินหน้าเพิ่มช่องทางติดต่อ ให้ประชาชนเข้าถึงง่ายและรวดเร็ว พร้อมเร่งแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลมากขึ้น

รมว.ยุติธรรม คิกออฟกองทุนยุติธรรม ก้าวสู่ปีที่ 10 เดินหน้าเพิ่มช่องทางติดต่อ ให้ประชาชนเข้าถึงง่ายและรวดเร็ว พร้อมเร่งแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลมากขึ้น

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 เวลา 13.00 น. ที่กระทรวงยุติธรรม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานจัดงานแถลงผลการดำเนินงานกองทุนยุติธรรม ประจำปี 2567 พร้อมคิกออฟกองทุนยุติธรรม ก้าวสู่ปีที่ 10 เดินหน้าเพิ่มช่องทางอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน หวังยกระดับประสิทธิภาพระบบบริการให้เข้าถึงง่าย สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง และเท่าเทียม พร้อมเร่งปรับแก้ พ.ร.บ. กองทุนยุติธรรม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล และแถลงสรุปผลการดำเนินงานกองทุนยุติธรรมรอบ 9 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.2558 – 2567) ได้อนุมัติให้ความช่วยเหลือประชาชนไปแล้วทั้งสิ้น 56,122 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,175.60 ล้านบาท

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า จากวิสัยทัศน์และพันธกิจที่กองทุนยุติธรรมจัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนผู้มีฐานะยากจนที่ประสบปัญหาเดือนร้อน ไม่ได้รับความเป็นธรรม ให้สามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และเท่าเทียม โดยมีอำนาจหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนใน 4 ภารกิจหลัก คือ 1) การช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี 2) การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย 3) การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และ 4) การสนับสนุนโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน

โดยตลอดระยะเกือบ 10 ที่ผ่านมา กองทุนยุติธรรมได้ดำเนินการด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ ตลอดจนการทำงานเชิงรุกเพื่อผลักดันให้กองทุนยุติธรรมเป็นองค์กรหลักในการช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วยระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งมีผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 – 2567 กองทุนยุติธรรมได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนไปแล้วทั้งสิ้น 56,122 ราย เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 2,175.60 ล้านบาท แบ่งตามภารกิจ ดังนี้
1) การช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี 264.85 ล้านบาท
2) การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย 1,298.33 ล้านบาท
3) การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน 2.52 ล้านบาท
4) การให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน   60.16 ล้านบาท

และเป็นวงเงินการใช้หนังสือรับรองการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ในการวางหลักประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย และการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย ผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) (ปี 2565 – 2567) เป็นจำนวนเงิน 549.74 ล้านบาท

สำหรับแผนปฏิบัติงานในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 10 ทางกองทุนยุติธรรมได้วางแผนการดำเนินงาน ภายใต้กรอบแนวคิด “กองทุนยุติธรรมพึ่งได้ ประชาชนยิ้มออก” โดยมีเป้าหมายดำเนินการสำคัญครอบคลุม 2 มิติหลักๆ คือ
1. เป้าหมายในการยกระดับประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน ผ่าน 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบกองยุติธรรม พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 2) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบสารสนเทศ โดยปรับใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริการให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว 3) ยกระดับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย พัฒนาทักษะบุคลากรให้มีความรู้และมีความพร้อมต่อการปฏิบัติงาน รวมถึงมีองค์ความรู้ที่พร้อมรับต่อความท้าทายในอนาคต 4) สร้างเสริมกระบวนการทำงานเชิงรุก สร้างแรงจูงใจ เสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร และทัศนคติที่ดี ตลอดจนยกระดับองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อความต่อเนื่อง ความโปร่งใส และความทันสมัยในการดำเนินงานของกองทุนยุติธรรม
2. เป้าหมายในการขยายขอบเขตการให้ความช่วยเหลือประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย (Legal aid) ได้มากยิ่งขึ้น ด้วย 1) การกระจายอำนาจการให้บริการในส่วนภูมิภาค ผ่านคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ ศูนย์ยุติธรรมสร้างสุข ประจำจังหวัด ภายในสำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ ศูนย์ยุติธรรมชุมชนทุกชุมชน เพื่อให้สามารถพิจารณาให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และ 2) การลดระยะเวลาดำเนินงาน ด้วยการพัฒนาและนำนวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ การเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลรวมถึงส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานภาครัฐที่ให้ความช่วยเหลือประชาชน และภาคประชาสังคม

“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ได้มีการพิจารณาในส่วนของการทบทวนภารกิจของกองทุนยุติธรรมมาโดยตลอด และเล็งเห็นว่าเราต้องเร่งทบทวน แก้ไข ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นเพิ่มช่องทางการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชน พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ แก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนหรือมีปัญหาด้านหนี้สิน ด้านคดีความต่างๆ รวมถึงการเยียวยาความเสียหาย ให้เข้ามาขอความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมได้อย่างทันท่วงที ทั่วถึง และเท่าเทียม เพื่อลดช่องว่างและลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เรามีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย หรือหากต้องขึ้นศาลเรามีทนายความให้การช่วยเหลือฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งเรายินดีจะให้การช่วยเหลือประชาชนทุกคนอย่างเต็มที่” พันตำรวจเอก ทวี กล่าว

โดยประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน สามารถเข้ามาติดต่อขอความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมได้ที่ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม (ศูนย์ยุติธรรมสร้างสุข), สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ, ศูนย์ยุติธรรมชุมชนทุกชุมชน หรือติดต่อสายด่วนกระทรวงยุติธรรม โทร. 1111 กด 77, ติดต่อผ่านเว็บไซต์ http://www.jfo.moj.go.th/, Facebook: กองทุนยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม  หรือติดต่อผ่านแอปพลิเคชั่น: “Justice Care” และ “ทางรัฐ” สามารถดาวน์โหลดเพื่อใช้งานได้ทั้งระบบ Android และระบบ IOS

 

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments